แถบข่าววันนี้ (ติดตามสถานการณ์จาก Facebook: Somporn Chuai-Aree)
|
ชื่อโครงการ(ภาษาไทย): การพัฒนาศักยภาพกลไกชุมชนและเครือข่ายทางสังคมเพื่อการจัดการสาธารณภัย: กรณีศึกษาอ่าวปัตตานี
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ):PattaniBay Watch - PBWatch
ภูมิหลัง
อ่าวปัตตานีเป็นอ่าวปากแม่น้ำที่ใหญ่ที่สุดในภาคใต้ของประเทศไทย สภาพเป็นวงรีกึ่งปิด มีทางออกสู่อ่าวไทยทางทิศตะวันตกซึ่งจรดกับปากแม่น้ำปัตตานี ก้นอ่าวอยู่ทิศตะวันออกเป็นสันดอนปากแม่น้ำยะหริ่ง ทิศเหนือเป็นสันทรายยื่นออกไปจากฝั่งขวาของปากแม่น้ำยะหริ่ง ทอดไปทางตะวันตกเป็นแนวโค้งยาวประมาณ18 กม.เกือบขนานกับแผ่นดินใหญ่ซึ่งอยู่ทางทิศใต้ของอ่าว (ดูรูปที่2) อ่าวนี้มีพื้นที่ประมาณ 74 ตร.กม. เป็นเขตที่มีชาวประมงหนาแน่นที่สุดในประเทศไทย มีหมู่บ้านชาวประมงพื้นบ้านตั้งเรียงรายอยู่ 30 หมู่บ้าน ประชากรทั้งสิ้นประมาณ 50,000 คน
การโจมตีของดีเพรสชั่นและการเกิดคลื่นเซช (Seiche) บนพื้นที่ชายฝั่งอ่าวไทย เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ได้สร้างความเสียหายจากแรงลม และน้ำทะเลซัดขึ้นฝั่งกระทบกับหมู่บ้านชายทะเลจำนวนมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งหมู่บ้านที่อยู่รอบอ่าวปัตตานี จนทำให้เครื่องมือประมง และบ้านเรือน ของประชาชนเสียหายโดยสิ้นเชิงหรือบางส่วน (ดูในภาคผนวก ก)
ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นมีขอบเขตกว้างขวางและรุนแรง ซ้ำเติมปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนใต้ ทำให้ชาวบ้านต้องอยู่อย่างยากลำบาก อย่างไรก็ตามพบว่าพื้นที่ดังกล่าวมีกลุ่มอนุรักษ์อ่าวปัตตานีประกอบด้วยนักวิชาการจากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมร่วมทำกิจกรรมกับชาวบ้านด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรส่วนรวมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนมาตลอด การฟื้นฟูภัยพิบัติครั้งนี้สามารถชักชวนให้หมู่บ้านเข้าร่วมโครงการได้อย่างเข้มข้นถึง 8 แห่ง และยังมีชุมชนเครือข่ายบริเวณลุ่มน้ำสายบุรีที่ประสบภัยพิบัติเช่นเดียวกันอีก 2 แห่ง รวม 10 แห่ง
หลังเหตุการณ์ คณาจารย์จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.อ.ปัตตานี ได้เข้าสำรวจพื้นที่และได้พบ “เห็น” ปรากฏการณ์ทางสังคมหลังภัยพิบัติทั้งในเชิงบวกและเชิงลบมากมาย ปรากฏการณ์ เชิงลบ ได้แก่ การขาดความรู้และความเข้าใจ ความไม่มีสติ ขาดกลไกและแผนในการตั้งรับกับสถานการณ์ส่วนปรากฏการณ์
เชิงบวก ได้แก่ การช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันภายในชุมชนและเครือข่าย เกิดการร่วมไม้ร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ องค์กรเอกชนและชาวบ้าน มีกลุ่มอาสาต่างๆเกิดขึ้นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังพบบทเรียน เรื่องเล่า ประสบการณ์ ความรู้ท้องถิ่นจากเหตุการณ์ซึ่งสามารถใช้เป็นต้นทุนสำหรับทำแผนจัดระเบียบชุมชนเพื่อการตั้งรับกับภัยพิบัติต่อไปในอนาคตอย่างไม่ประมาท และใช้เป็นโอกาสในการพัฒนาชุมชนให้มีความเข้มแข็งและพึ่งพาตนเองอย่างมีศักดิ์ศรี
สังคมไทยมีบทเรียนและประสบการณ์ของพื้นที่สึนามิในจังหวัดพังงาสรุปได้เช่นเดียวกันว่า ปัจจัยที่ทำให้การฟื้นฟูจากภัยพิบัติขนาดใหญ่เป็นไปได้ราบรื่น คือ การพัฒนาศักยภาพของกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบ ให้เกิดความสามารถในการระดมหาหนทางช่วยเหลือตนเองให้มากที่สุด ส่วนความช่วยเหลือจากภายนอกเป็นปัจจัยเสริม และที่สำคัญความเข้มแข็งของชุมชนหลังภัยพิบัติส่วนหนึ่งเกิดจากการทำงานขององค์กรพัฒนาเอกชนที่ช่วยเป็นพี่เลี้ยง ถามคำถาม กระตุ้นให้ชุมชนหาทางช่วยเหลือตนเองให้ได้มากที่สุด
จากเหตุการณ์ภัยพิบัติที่อ่าวปัตตานี รัฐบาลมีนโยบายเร่งด่วนในการช่วยเหลือฟื้นฟูให้ชาวบ้านหลุดพ้นจากความเสียหาย แต่องค์กรของรัฐส่วนใหญ่ ติดอยู่กับระบบราชการ ขาดประสบการณ์ในการเสริมพลังของชาวบ้านให้ช่วยเหลือกันเอง สถาบันองค์กรพัฒนาชุมชน (พอช.) เป็นองค์กรมหาชนภายใต้การกำกับของรัฐที่มีประสบการณ์ด้านการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนมากที่สุด เป็นองค์กรหลักองค์กรหนึ่งซึ่งช่วยฟื้นฟูความเข้มแข็งในพื้นที่สึนามิ เช่นเดียวกับกรณีพิบัติภัยรอบอ่าวปัตตานี พอช. มีพันธกิจทั่วไปในการประสานงานให้ความช่วยเหลือฟื้นฟู โดยเฉพาะการจัดหาสร้างที่อยู่อาศัยชั่วคราวและถาวรร่วมกับประชาชนยากไร้ซึ่งได้รับผลกระทบจากดีเพรสชั่นครั้งนี้
เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานีได้เชิญชาวบ้าน จากหมู่บ้านที่ประสบภัยพิบัติ องค์กรพัฒนาเอกชนภายในพื้นที่ และพอช. ร่วมประชุมหาแนวทางแก้ไขสถานการณ์เพื่อทำให้กระบวนการฟื้นฟูความเสียหายดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ที่ประชุมมีมติความเห็นร่วมกันว่าจะต้องหาทางเร่งด่วนในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนให้ดีไปกว่าเดิม โดยมีการทำงานประสานกันอย่างเป็นเครือข่าย โดยมี 3 ภาคส่วนสำคัญคือ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ องค์กรพัฒนาเอกชน และชุมชนที่ประสบภัยพิบัติ ทั้งหมดนี้เพื่อให้ชุมชนมีศักยภาพเข้มแข็งพอสำหรับรับมือกับภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นได้อีกในอนาคตอันใกล้ โดยความเข้มแข็งต่างๆได้แก่ การควบคุมสถานการณ์และช่วยตัวเองได้มากที่สุด ทั้งยังต้องสามารถจัดการกับความช่วยเหลือที่ได้รับอย่างมีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์ของโครงการ
วัตถุประสงค์ทั่วไป คือ
วัตถุประสงค์จำเพาะหลักในระยะสั้นและปานกลาง ได้แก่
ยุทธศาสตร์ในการดำเนินงาน แบ่งเป็นสองประการหลัก คือ
ยุทธศาสตร์ที่หนึ่ง สร้างกลไกในการประสานงานการฟื้นฟูภายในพื้นที่ ให้ชุมชนมีส่วนร่วมในระดับสูงที่สุด จนถึงสามารถกำกับทิศทางของความช่วยเหลือให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนมากที่สุด และออกแบบกลไกเชิงระบบเพื่อตั้งรับกับสถานการณ์ภัยพิบัติต่างๆ ในอนาคต
ยุทธศาสตร์ที่สอง สร้างกลุ่มอย่างไม่เป็นทางการในชุมชนที่ทำงานอย่างมีธรรมาภิบาลร่วมกับกลุ่มผู้นำอย่างเป็นทางการ ในการประสานงานกิจกรรมฟื้นฟู
ยุทธศาสตร์ที่หนึ่ง การสร้างกลไกในการประสานงานการฟื้นฟูภายในพื้นที่: เนื่องจากความเสียหายรอบอ่าวปัตตานีมีบริเวณกว้าง และหน่วยงานที่จะให้ความช่วยเหลือมีหลายหน่วยทั้งภาครัฐและเอกชนตลอดจนองค์กรระหว่างประเทศ จำเป็นต้องมีสำนักงานชั่วคราวสำหรับการประสาน ซึ่งควรจะทำงานอย่างคล่องตัว ที่ประชุมในวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 เห็นว่ามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานีเป็นองค์กรและสถานที่ซึ่งเหมาะสมที่สุด โดยสถาบันนี้จะทำหน้าที่ดังนี้
1) สร้างกลไกทำให้สารสนเทศเกี่ยวกับสถานการณ์ และกิจกรรมความช่วยเหลือของหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่รอบอ่าวปัตตานีมีความเป็นทันสมัยตลอดเวลา เข้าถึงได้ง่ายโดยทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และถูกใช้โดยชุมชนในการกำกับความคืบหน้าและถูกใช้โดยองค์กรให้ความช่วยเหลือเพื่อหลีกเลี่ยงความซ้ำซ้อนและเสริมกิจกรรมซึ่งกันและกัน
2) จัดสำนักงานประสานงานชั่วคราว เพื่อใช้เป็นจุดนัดพบระหว่างกลุ่มที่เกี่ยวข้อง จัดประชุม และเผยแพร่สารสนเทศ
3) จัดหาและประสานพี่เลี้ยงสำหรับชุมชนในกิจกรรมด้านต่างๆ ที่เกี่ยวกับการฟื้นฟูและการพัฒนา เช่น ด้านการบริหาร ด้านการเงินและการบัญชี ด้านวิศวกรรมและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
4) สร้างกระบวนการเรียนรู้ของทุกฝ่าย รวมทั้งจัดให้นักศึกษาและเยาวชนรุ่นใหม่ในพื้นที่มีส่วนร่วมเรียนรู้ในกิจกรรมต่าง ๆ รวมถึงความสัมพันธ์เชื่อมโยงของปัญหาในลักษณะองค์รวมเพื่อการสร้างความสัมพันธ์เชิงเครือข่าย พร้อมกันนี้เป็นโอกาสในการสร้างกลไกเชิงระบบที่เกิดจากศักยภาพในการพึ่งพาตนเองของชุมชน เพื่อเตรียมพร้อมในการตั้งรับกับสถานการณ์ภัยพิบัติต่าง ๆในอนาคต และสามารถลดและบรรเทาความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้น
5) จัดหานักวิชาการ ทำวิจัยที่จำเป็นต่อการฟื้นฟู
6) ช่วยเหลือในการให้ข้อมูล ความรู้ การถอดบทเรียน โดยการสร้างพื้นที่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อสร้างความเข้าใจและความตระหนักร่วมกันเกี่ยวกับปัญหาภัยพิบัติ
7) จัดทำเอกสารรายงานความก้าวหน้าและสรุปบทเรียนเป็นระยะๆ
ยุทธวิธี
1) บูรณาการศาสนา ความเชื่อ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ธรรมชาติ และความรู้ทางวิชาการเข้าด้วยกัน
2) สร้างกระบวนการการมีส่วนร่วมทุกระดับ
3) ฟื้นฟูกลไกประสานงานและพึ่งพาตนเองภายในชุมชน
4) สร้าง ประสานและขยายเครือข่ายทุกภาคส่วน
5) ขยายพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้
6) ปลูกป่าและสร้างแนวป้องกันตามธรรมชาติ
7) เชื่อมโยงทั้งระบบลุ่มน้ำ
8) ส่งเสริมการก่อตั้งสภาประชาคม
ยุทธศาสตร์ที่สอง สร้างกลุ่มไม่เป็นทางการในชุมชนที่ทำงานอย่างมีธรรมาภิบาล: งานนี้จะนำโดยองค์กรพัฒนาเอกชนในพื้นที่และ พอช. ซึ่งมีบุคลากรทำงานเต็มเวลาในภาคสนาม โดยมีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เป็นฝ่ายเสริม เป้าหมายที่ควรจะบรรลุในระยะเวลาอันสั้น (3-4 เดือน)ได้แก่
เนื่องจากการสร้างความเข้มแข็งในระดับนี้ต้องการการทำงานอย่างใกล้ชิด จึงไม่สามารถครอบคลุมหมู่บ้านทั้งหมดรอบอ่าวปัตตานีได้ กลุ่มองค์กรพัฒนาเอกชนในพื้นที่ได้เลือกหมู่บ้าน 10 แห่งซึ่งได้สร้างเครือข่ายไว้ก่อนหน้าที่จะเกิดภัยพิบัติเป็นหมู่บ้านต้นแบบในระยะ 6 เดือนแรก หากกิจกรรมดำเนินการไปได้ดีจึงจะขยายไปยังหมู่บ้านใกล้เคียงต่อไป
หลักการบริหารงบประมาณ
1) งบประมาณดำเนินการให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์และกิจกรรม
2) งบประมาณส่วนนี้จะไปสมทบกับงบประมาณจากแหล่งอื่น เช่น งบประมาณจาก พอช. ในการสนับสนุนการประชุมของชาวบ้าน และงบประมาณที่มหาวิทยาลัยได้จากผู้บริจาครายอื่น
3) ผู้บริหารงบประมาณจะแบ่งเป็นสองกลุ่มใหญ่ คือ
กลุ่มที่หนึ่ง กลุ่มผู้เสนอโครงการซึ่งมีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เป็นแกนนำ บริหารงบประมาณส่วนใหญ่ตามยุทธศาสตร์ที่หนึ่ง (สร้างกลไกการประสานงาน) เงินส่วนนี้จะใช้สำหรับจ่าย
กลุ่มที่สอง กลุ่มตัวแทนชุมชนในแต่ละชุมชนบริหารงบประมาณส่วนใหญ่ของยุทธศาสตร์ที่สอง ภายใต้การกำกับดูแลของกลุ่มผู้เสนอโครงการ เงินส่วนนี้จะโอนจากบัญชีของโครงการเข้าบัญชีของแต่ละชุมชน ทันทีที่ชุมชนสามารถดำเนินกิจกรรมที่ระบุในยุทธศาสตร์ที่สอง เช่น จัดตั้งกรรมการ กำหนดนโยบายต่าง ๆ กำหนดวิธีการรับจ่าย จัดเตรียมระบบบัญชีและมีสมุดฝากเงินของชุมชนตามเกณฑ์ข้างต้น เงินที่รับไปจากโครงการจะถูกใช้ในการดำเนินงานของส่วนรวมตามหลักการที่ชุมชนตั้งขึ้น จำนวนเงินที่จะโอนเข้าในรอบแรกจะไม่สูงนัก แต่เพียงพอที่จะทำให้กิจกรรมส่วนรวมของชุมชนดำเนินไปได้ (เช่น 10,000 บาทในเวลา 3 เดือน) เมื่อสิ้นสุด 3 เดือนแรกจะมีการประเมินผลร่วมกันระหว่างชุมชนกับคณะผู้จัดทำโครงการ เพื่อพิจารณาความเหมาะสมว่าควรจะสนับสนุนในงวดต่อไปมากน้อยเพียงไร
แผนการดำเนินการ
เดือนที่ 1: ขั้นเตรียมการ
1. ลงพื้นที่ เข้าไปในชุมชนและร่วมพูดคุยกับทุกชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ หาแกนเพื่อทำงานประสานแกน เพราะเนื้อหางานบางอย่างโครงการเป็นฝ่ายให้ข้อมูล
2. ให้ชุมชนเตรียมแผนการใช้เงิน 10,000 บาท
เดือนที่ 2 - เดือนที่ 3: ขั้นความรู้และภูมิปัญญาในการจัดการ (แนวคิด: ให้ชุมชนสามารถยืนได้ด้วยขาของตนเอง เน้นการช่วยเหลืออย่างไรเพื่อไม่ให้ชุมชนอ่อนแอ)
1. ความรู้ภายในชุมชน : ค้นหาความรู้และการจัดการภัยพิบัติในชุมชน
1.1 โดยการแสวงหาความรู้ในอดีตเกี่ยวกับการจัดการภัยพิบัติและการเกิดวิกฤตในชุมชน บันทึกเรื่องเล่าการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน การแก้ไขปัญหาจากหมู่บ้านรอบอ่าวปัตตานี ในวันที่มีภัยพิบัติ
1.2 ค้นหาตัวแทนของหมู่บ้านที่ประสบภัยพิบัติเข้าอบรม“รู้เท่าทันพิบัติภัย” กับอาจารย์ ดร.สมพร ช่วยอารีย์และคณะ
2. ประชุมย่อยร่วมกันครั้งที่ 1
ผลที่ได้ บันทึกเรื่องเล่าจากเหตุการณ์พิบัติภัยในอ่าวปัตตานี และถอดเป็นสื่อในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การ์ตูนภูมิปัญญา
เดือนที่ 4 – 5:ขั้นความรู้และภูมิปัญญาในการจัดการ
1. ความรู้ภายนอกชุมชน : เรียนรู้จากเครือข่ายที่เคยประสบภัยพิบัติมาก่อน เช่น กรณีสึนามิ บ้านน้ำเค็ม และกลุ่มนักวิชาการด้านการเตือนภัยธรรมชาติ โดยการฝึกจำลองเหตุการณ์ต่างๆ เช่น การหนีภัย
2. ประชุมย่อยร่วมกันครั้งที่ 2
ผลที่ได้ ต่อยอดความรู้เดิมผนวกความรู้ใหม่
เดือนที่ 6:ขั้นแผน/รูปแบบการฟื้นฟูภัยพิบัติ
1. สรุปบทเรียน และสื่อสารตัวอย่างการจัดรูปแบบการฟื้นฟูภัยพิบัติ นำเสนอผลงานการดำเนินงานของแต่ละหมู่บ้าน
ผลที่ได้ แผนงานระยะยาว
หน่วยงานสนับสนุน
1. สถาบันวิจัยและพัฒนาสุขภาพภาคใต้ (วพส.) จำนวน 200,000 บาท
2. สถาบันองค์กรพัฒนาชุมชน (พอช.) จำนวน 100,000 บาท