ข่าวใหม่วันนี้

แถบข่าววันนี้ (ติดตามสถานการณ์จาก Facebook: Somporn Chuai-Aree)

"หลักสูตรภัยพิบัติศึกษา" อยากเห็นเนื้อหาเป็นอย่างไร?

กระดานสนทนา: 

"ภัยพิบัติ" แบ่งคร่าวๆ เป็น 2 ประเภท คือ 1. ภัยที่เกิดจากน้ำมือของมนุษย์ เช่น การก่อการร้าย โรงงานนิวเคลียร์ระเบิด และ 2. ภัยที่เกิดจากธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว น้ำท่วม ภูเขาไฟระเบิด


นักวิชาการบางท่านเพิ่มประเภทของภัยพิบัติอีก 1 ประเภท คือ ภัยผสม หมายถึง ภัยที่เกิดจากธรรมชาติและภัยที่เกิดจากน้ำมือของมนุษย์เกิดขึ้นพร้อมกัน เช่น กรณีโรงงานนิวเคลียร์ของญี่ปุ่นที่โดนสีนามิ เมื่อช่วงปีที่ผ่านมา


"ปัตตานี" มีภัยพิบัติทั้งสองประเภท ดังนั้นควรจะมีหลักสูตรการเรียนการสอน เพื่อให้เด็กรุ่นใหม่ ได้เกิดการเรียนรู้และเกิดความสามารถในการป้องกันตัวเองได้ในระยะยาวและยั่งยืน


เพื่อนๆ อยากเห็นหลักสูตรเรื่อง "ภัยพิบัติศึกษา" อย่างไร? เช่น


1. การสื่อสารท่ามกลางภัยพิบัติ


2. สังคมวิทยาภัยพิบัติ


3. วิทยาศาสตร์กับภัยพิบัติ


4. สุขภาวะภัยพิบัติ ฯลฯ


ใครมีความคิดเจ๋งๆ ลองช่วยกันเสนอแนะ เพื่อในวันข้างหน้า เราจะสามารถภูมิคุ้มกันให้คนรุ่นต่อไปและลดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินที่อาจจะเกิดขึ้นโดยที่เราสามารถเรียนรู้และป้องกันได้...Smile


อ.อลิสา หะสาเมาะ


 

รูปภาพของ csomporn

ก่อนจะนำไปสู่ภัยพิบัติในหลักสูตร เราควรจะให้องค์ความรู้ที่เป็นข้อมูลอยู่กับปัจจุบัน ให้รู้ถึงภูมินิเวศของพื้นที่ของตัวเอง และพื้นที่รอบข้างแบบเข้าใจง่าย แล้วก็ตามด้วยสังคมนิเวศที่อยู่ในภูมินิเวศ เราก็มีข้อมูลทางกายภาพให้นักเรียนเห็น ว่าตรงไหนเป็นภูเขา เนินเขา ชายเขา ชายป่า ชายนา ทุ่งนา ป่าพรุ ริมน้ำ ปากแม่น้ำ ป่าชายหาด ชายฝั่ง ป่าชายเลน ป่ารอบอ่าว อ่าว ระบบน้ำ ระบบคูคลอง  ต้นไม้ ว่าง่ายๆ คือเรืองของทรัพยากรทางกายภาพ และทรัพยากรทางสังคม รวมถึงวัฒนธรรมและอื่นๆ

น่าจะเป็นบทต้นๆ เพื่อให้รู้อะไรที่เป็นอดีตถึงปัจจุบัน แล้วรวมเข้ากับภัยที่อาจจะเกิดขึ้น นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสู่อนาคตครับ

ผมว่าเป็นเรื่องที่ดีครับ ที่จะเก็บรวบรวมข้อมูล จากชาวบ้าน จากรัฐ จากวิชาการ จากศาสนา แล้วร่วมกันเขียนหลักสูตรภัยพิบัติ น่าจะเป็นอีกมิติหนึ่งในการเข้าใจพื้นที่ตัวเอง เตรียมความพร้อมได้ดีก่อนภัยมา รับมือได้ดีขณะภัยเกิด ฟื้นฟูเยียวยาถอดบทเรียนได้ดีหลังภัยผ่าน

เสนอแค่นี้ก่อนครับ

ด้วยมิตรภาพครับ

สมพร ช่วยอารีย์

By csomporn

เห็นด้วยอย่างยิ่งคับกับหลักสูตรภัยพิบัติศึกษา ต้องมีพื้นที่กรณีศึกษาเป็นตัวอย่างด้วยน่าจะดีนะครับจะได้เป็นพื้นที่เรียนรู้จริง


 

By นิพนธ์ ฤทธิชัย

กราบเรียนอาจารย์ที่เคารพ


เครือข่าย http://www.pbwatch.net/node/43 เป็นเครือข่ายพี่น้องภาคใต้ที่ทำงานร่วมกันมา ตั้งแต่ภัยพิบัติปี ๒๕๕๓ และสร้างความเข้มแข็งเรื่อยมา จนในปีนี้ทำให้ไม่ต้องหนักใจมากเท่าปีก่อน หรือไม่ต้องพะวงว่าจะต้องเฝ้าระวังเตือนภัยให้พี่น้องภาคใต้ และอาจจะไม่ต้องระดมความช่วยเหลือให้มากๆดังปีก่อน เป็นความเข้มแข็งที่นักวิชาการในพื้นที่หลายคนได้ร่วมมือกับ ผู้นำประชาชนในพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้ มีผลงานที่ปรากฏ คือการเตรียมความพร้อมของชุมชน และการทำฐานข้อมูล ที่ช่วยเตือนกันอย่างเข้าใจง่าย อีกทั้งยังช่วยเตือนภัยพวกเรา ที่ภาคกลางเมื่อครั้งล่าสุดนี้ด้วย ในการนี้ อาจารย์ในมหาวิทยาลัยสงขลานครนิทร์ วิทยาเขตปัตตานี มีความตั้งใจจะเปิดกรเรียนการสอนในหลักสูตรภัยพิบัติขึ้น จึงได้ขอความเห็นผ่านมา ด้วยเห็นว่าคณะอาจารย์หลายท่านมี ความรู้ความสามารถ อีกทั้งมีแนวความคิดที่มีพลังอย่างน่าสนใจ จึงขอความกรุณาให้ความเห็นต่ออาจารย์และพี่น้องประชาชน ในสามจังหวัดภาคใต้ที่อยู่ในระบบเมล์นี้ เพื่อร่วมกันสร้าง หลักสูตรที่สมจริงใช้ประโยชน์ต่อประชา ชนในพื้นที่ได้ตามความคิดเห็นที่อาจารย์มีส่งมายังเมล์ข้างต้นนี้หรือ จะreplyกลับมา ลักษณ์ก็จะส่งต่อไปยังคณะทำงานทางใต้ต่อไป อนึ่ง หากมีเวลาอยากให้อาจารย์เข้าไปดูเวบไซด์ที่ อาจารย์ สมพร ช่วยอารีย์ และคณะจัดทำขึ้น ข้างต้น เพื่อประกอบความเข้าใจด้วยค่ะ


ด้วยจิตคาราวะ


Posted by: สมลักษณ์

By Alisa

เรียนคุณสมลักษณ์ที่นับถือ
เห็นด้วยอย่างยิ่งในการมีหลักสูตรนี้ แต่จะเป็นในระดับไหน อย่างไร ยังไม่ชัดเจน
ขอเล่าประสบการณ์ในฐานะคนแก่ชอบเล่าเรื่องเก่าๆ ฮา
เนื่องจากเรียนวิศวหลายสาขาแต่เริ่มที่วิศวเคมี ได้มีโอกาสร่วมร่างหลักสูตรวิศวเคมีให้มหาวิทยาลัยขอนแก่นเมื่อร่วม๒๘ ปีที่แล้วและมีวิชาว่าด้วยความปลอดภัยเข้าไปด้วย ศ.ดร.ประสม สถาปิตานนท์ท่านบอกว่า เป็นครั้งแรกที่มีวิชานี้ในหลักสูตรวิศวเคมี
เหตุผล มองว่า คนไทยขาดความตระหนักเรื่องความปลอดภัยกันมากๆๆ ที่ตายกันด้วยไฟช๊อตเป็นสัดส่วนที่สูงมากตอนน้ำท่วมใหญ่นี้ ก็เพราะเรื่องนี้
ดังนั้น คิดว่า ต้องมีหลักสูตร ความปลอดภัยเข้าไปตั้งแต่ระดับอนุบาลเลย
สำหรับหลักสูตรภัยพิบัตินั้น ต้องเป็นระดับก้าวหน้า 
เรียนรู้จากต่างชาติก่อนก็ได้ แล้วมาปรับใช้กับบ้านเรา
ถ้ายอมรับว่า โลกร้อนทำให้ภูมิอากาศแปรปรวน ความรุนแรงเป็นเรื่องปกติและหาความแน่นอนไม่ได้
ต้องเริ่มทำหลักสูตรเชิงปฏิบัติการณ์โดยเร็ว ผศ.ดร.บุญส่ง ไข่เกษบรรยายว่า เธอเคยเรียนเรื่องนี้ หลายสิบปีมาแล้ว น่าจะเริ่มเป็นแหล่งข้อมูลก็ได้
ขอแสดงความนับถือ


By Alisa

ผมอยากเห็นภาพที่ชัดเจนในส่วนของ วิทยาศาสตร์ภัยพิบัติ ว่าจะไปสู่ การวิเคราะห์ความเสี่ยง อย่างไร


ส่วนนี้จะนำไปสู่การพัฒนาและแก้ไข ครับ


By Alisa

เรียนท่านอาจารย์และคณะทำงานทุกท่านค่ะ 


ดิฉันจิตรลดา พิริยศาสน์หรือเรียกหญิงก้อได้ค่ะ ขอรายงานตัวค่ะ ดิฉันได้รับการแนะนำจากอาจารย์อลิสาเกี่ยวกับการทำงานของคณะทำงานภาคประชาสังคมที่มีความเข้มแข็ง  รวมทั้งการทำงานของ PBWatch  ภูมิใจและอยากเป็นส่วนหนึ่งในการทำงานเพื่อสังคม ชุมชนและแผ่นดิน

 ขอเสนอข้อคิดเห็น จากประเด็นหลักสูตรนำร่องในชุมชนนั้นเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีค่ะ และเห็นด้วยอย่างมากในการที่เราจะถอดบทเรียนในชุมชนและสังเคราะห์เพื่อนำไปสู่องค์ความรู้ที่ตอบสนองความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง    สำหรับหลักสูตรของคณะพยาบาลปัตตานี นั้นได้บรรจุวิชาการพยาบาลสาธารณภัยซึ่งเกี่ยวกับหลักการจัดระบบบริการ หลักการพยาบาลสาธารณภัยในระยะฉุกเฉิน เร่งด่วน และระยะฟื้นฟู การพยาบาลผู้ที่ได้รับบาดเจ็บชนิดต่างๆ จากสาธารณภัย การกู้ชีพเบื้องต้น การเคลื่อนย้ายและส่งต่อ การช่วยเหลือทางจิตใจเบื้องต้น การฟื้นฟูด้านจิตใจผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุสาธารณภัย  คิดว่าในทางวิชาการและอุปกรณ์หุ่นจำลองฟื้นคืนชีพเรามีจำนวนหนึ่งแต่ก้อพร้อมที่จะให้การสนับสนุนและความช่วยเหลือเต็มที่ถ้าต้องการ 


โครงการจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี  


อาคาร 4 ( ตึกสภาอาจารย์ ) โทรศัพท์ 086-6283040 สายตรงเรียกใช้อาจารย์หญิงได้เลยค่ะ

By Alisa