ข่าวใหม่วันนี้

แถบข่าววันนี้ (ติดตามสถานการณ์จาก Facebook: Somporn Chuai-Aree)

ความคืบหน้าเล็กๆในการริเริ่มทำหลักสูตรภัยพิบัติในโรงเรียน

กระดานสนทนา: 

เรียนคณะทำงานทุกท่านค่ะ 
           ตามที่อาจารย์อลิสาได้เรียนทุกท่านไว้ในเบื้องต้นในเรื่องการจัดทำหลักสูตรภัยพิบัตินั้น ดิฉันเองคิดว่าเราสามารถเริ่มได้ทั้งจากชุมชนเองหรือในโรงเรียนก็ได้ ในส่วนตัวแล้วคิดว่าจุดดีของการเริ่มในโรงเรียนคือเมื่อผลักดันเข้าไปสำเร็จก็อาศัยกลไกการศึกษานั้นเดินเรื่องต่อไปได้ แต่ในฐานะที่เป็นคนมีประสบการณ์การทำงานน้อยและไม่คุ้นเคยพื้นที่  จึงอยากเรียนรู้การทำงานของโรงเรียนในพื้นที่อื่นๆใกล้เคียงเราที่ได้เริ่มจัดทำหลักสูตรภัยพิบัติศึกษา ว่าเป็นอย่างไร อยากทราบว่าโรงเรียนอะไรและมีใครที่สามารถจะติดต่อประสานงานหรือปรึกษาได้โดยตรงค่ะ วันนี้ได้ติดต่อท่านผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านยูโยไว้แล้วในเบื้องต้นท่านสนใจและตอบตกลงโดยดิฉันจะประสานกับท่านอีกครั้งเพื่อเข้าไปพูดคุยที่โรงเรียนอย่างเป็นทางการถึงขั้นตอนการทำงานในลำดับต่อไป  จึงเรียนมาเพื่อทราบค่ะ


 


 

"มองโลกผ่านรูเข็ม" คือ การคิดที่เริ่มจากเรื่องเล็กๆ ที่จะนำไปสู่เรื่องใหญ่ๆ ในอนาคต เริ่มจากก้าวเล็กๆ แต่มั่นคงและหนักแน่น น่าจะเป็นแนวทางที่ดี อาจารย์สามารถเริ่มต้นจากการประสานงานชุมชน 16 ชุมชน ในพื้นที่โครงการ PBWatch ก่อนน่าจะดี เพราะเรามีเครือข่าย มีคณะทำงานอยู่แล้ว จะช่วยกันประสานงานได้ดีขึ้น ติดต่อผ่านวันอนันต์ ผู้ประสานงานโครงการได้เลยคะ

เชียร์...

อลิสา

By Alisa

ขอบคุณค้า...อาจารย์อลิสา คิดว่าที่จะทำต่อนอกจากโปรเจคต่อเนื่องจากที่ประชุมแล้ว ก็คือหาแนวปฏิบัติเพื่อเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติ คือเป็นแนวไว้ส่วนการปฏิบัติเชิงรูปธรรมที่เป็นรายละเอียดปลีกย่อยคงต้องมีการแลกเปลี่ยนกับชุมชน แล้วก็ประสานเครือข่ายความร่วมมือ ส่วนอีกเรื่องคือหลักสูตรนั้น อยากจะเรียกว่า เป็นกิจกรรมเสริมหลักสูตรได้มั๊ยคะ ถ้าเป็นหลักสูตรเลยไม่แน่ใจว่าจะเป็นการเริ่มต้นที่หนักไปหรือเปล่า คือคิดว่าถ้าเป็นกิจกรรมเสริมหลักสูตรเราสามารถเริ่มได้ในทุกระดับชั้น จัดให้มีเนื้อหาและกิจกรรมที่สอดคล้องกับผู้เรียนได้ไม่ยากและน่าสนุกอีกต่างหากค่ะคิดว่าพูดคุยกับคุณครูได้ไม่ยากปรับเปลี่ยนไปตามรูปแบบที่ต้องการ ครูได้ เด็กได้ ชุมชนได้ ได้หมายถึงได้บูรณาการความรู้ ได้รู้จักเตรียมตัวเตรียมใจเตรียมระวังเพื่อให้ภ้นจากความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ส่วนการวางกรอบว่าจะมีอะไรบ้างนั้นลองเขียนๆไว้อยู่ควรมีเรื่องอะไรบ้าง มีกิจกรรมอะไรในแต่ละระดับชั้นนั้น คิดว่าหลายท่านน่าจะมีไอเดียหลากหลายร่วมกันแลกเปลี่ยนค่ะ..   

By จิตรลดา พิริยศาสน์

จากเมื่อพายุเข้าสงขลาเมื่อเดือนตุลา-พฤศจิกา ปีที่แล้ว เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน มีความริเริ่มในโรงเรียนเอกชน จ.สงขลา ๒-๓ โรงเรียน เพื่อเตรียมความพร้อม และการตื่นรู้ให้แก่เด็กๆ ให้สามารถดูแลตน ไม่เป็นภาระผู้อื่น(เท่ากับช่วยคนอื่นแล้ว)  โดย เริ่มจากผู้บริหาร-ผ.อ.พูดคุยกับคุณครูในโรงเรียน (บางโรงเรียนไม่ต้องbuildมาก เพราะครูต้องมาช่วยกันเลื่อยต้นไม้ในโรงเรียนที่ล้มลง มาซ่อมหลังคา มาล้างขี้ฝุ่น เช็ดน้ำฝน ในช่วงที่พายุเข้า ครูเลยin)ให้เห็นความสำคัญและจำเป็นของความรู้เรื่องภัยพิบัติและการเตรียมความพร้อม-รับมือที่มีต่อชีวิตในอนาคต

เรื่องราวดังกล่าวถูกนำไปพูดคุย สอดแทรกในเนื้อหา ชั่วโมงเรียนของเด็กๆ โดยเริ่มจากสภาพจริงที่เด็กๆพบและเห็นอยู่ เด็กบางคนเห็นสภาพชายหาดที่พังทะลาย ลมที่แรงขึ้น หรือระดับน้ำฝนที่ในลำคลอง ฯ จากนั้น บางโรงเรียนเริ่มหาวิธีทำสระว่ายน้ำหรือหาสระว่ายน้ำใกล้ๆ โดยกำหนดให้เด็กทุกคนต้องเรียนว่ายน้ำในวิชาพละเพื่อว่ายน้ำเป็น

กิจกรรมเสริมสำหรับเด็ก,ผู้ปกครอง คือ จิตอาสา  โรงเรียนสองโรงเรียนจับมือกันทำโครงการจิตอาสา ชวนเด็กและผู้ปกครองมาเรียนทำเสื้อชูชีพทำมือ,ทำE.M.Ball เพื่อส่งไปช่วยพี่น้องทางภาคกลางที่เดือดร้อนจากน้ำท่วมในช่วงที่ผ่านมา  ทำโครงการเกี่ยวกับกิจวัตรประจำวันบ่มเพาะนิสัยที่ดีงามเพื่อสอนให้เด็กไม่ดูดาย ช่วยตน ช่วยคนอื่นๆ รวมทั้งได้ฝึกปรือเรื่องการพึ่งตนเอง หุงหา-ทำอาหารเพื่ออยู่เพื่อกินได้ ซึ่งในกิจกรรมค่ายลูกเสือเดือนกุมภาพันธ์นี้ เด็กๆจะเรียนรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเองในธรรมชาติ และตอนนี้เด็ก,ผู้ปกครองในสองโรงเรียนก็รวบรวมเสื้อผ้า ข้าวของมือสองมาบริจาคเพื่อนำไปขายระดมทุนช่วยปรับปรุงศูนย์เรียนรู้-ศูนย์พักพิงให้พี่น้องในชุมชนคลองขุด ที่ จ.พัทลุงอยู่อย่างต่อเนื่อง  

และเมื่อมีสถานการณ์ ประกาศเตือนภัย ก็จะส่งข่าวบอกกล่าวกัน สอบถาม ให้กำลังใจกัน เพื่อรับรู้สถานการณ์ของกันและกันว่าเกิดอะไรขึ้นและใครต้องการความช่วยเหลือบ้าง ผู้บริหารของทั้งห้า-หกโรงเรียนมีการประชุมพบปะกันเป็นประจำอย่างน้อยเดือนละคร้ัง เพื่อหนุนช่วยและปรึกษาหารือกันในทุกๆเรื่อง

ค่อยๆทำค่อยๆขยับไปทีละนิดๆ โดยมีเป้าหมายที่ การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้เด็กๆของเราเติบโต ดูแลตนเองได้เต็มศักยภาพของเขา  ไม่ได้วางอะไรไว้มากมาย หากชวนเด็กๆและคุณครูเรียนรู้จากสถานการณ์จริงที่ปรากฏอยู่รอบๆตัวเรานั่นเอง แล้วก็เปลี่ยนมาเป็นหัวข้อพูดคุย สนทนา แลกเปลี่ยน และทดลองหาทางออกอื่นๆ หรือสืบค้นหาสาเหตุ ที่มาของเหตุการณ์นั้นๆ ว่า เพราะอะไร และถ้าเลือกได้เราจะต้องดูแลตรงไหนค่ะ

ก็แลกเปลี่ยนมานะคะ และแน่นอนว่า เป้าหมายของเรา คือ การขยับระดับโครงสร้าง โรงเรียนต้องมีหลักสูตรที่ตอบโจทย์ความต้องการของท้องถิ่น ที่สอดรับกับบริบทของท้องถิ่น ที่ท้องถิ่นต้องเข้าไปมีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมาย-วัตถุประสงค์-ขอบข่าย และกระบวนการ เช่น ที่เกี่ยวกับภัยพิบัติ(สถานการณ์หลักในขณะนี้) การจัดการสิ่งแวดล้อม การสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น การอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ฯ อะไรอย่างนี้เป็นต้นค่ะ

                                                                                                                      จินตนา สมพงศ์ 

 

By jintana somphong