[ว่าด้วยหมอกควัน...ที่ยากจะแก้ไข...จากแหล่งเผาถึงถุงลมในปอด]
แหล่งกำเนินควัน เผาป่า เผาสรรพสิ่ง อากาศลอยตัว ลมพัดมา ควันลอยไป ไกลแค่ไหนก็ไปถึง
หมอกควัน (smog) = ควัน (smoke) + หมอก (fog)
การเผาไหม้ (มนุษย์ทำ+ธรรมชาติเสริม) --> อากาศร้อน --> หมอกควันลอยตัว --> ลมพัดในทิศทางต่างๆ ที่ต่างระดับกัน --> เกิดการคลุกเคล้าของหมอกควันในอากาศ --> หมอกควันลอยไปตามลม --> ปกคลุมในพื้นที่เป้าหมาย ใกล้แหล่งเผาหมอกควันเข้ม --> ไกลๆ ก็ค่อยๆ เจือจาง --> หมอกควันสะสมในพื้นที่เส้นทางลม --> ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิต --> เจอฝนก็ดับหมอกควัน กอดกันในอากาศตกลงมากับเม็ดฝน --> อากาศดีขึ้น --> ฝนหยุดตก ลมพัดมาใหม่ หมอกควันก็มาแทนที่ตามเดิม
ในประเทศไทยเกิดปัญหานี้ทุกปี (มีนาคม – เมษายน เกิดที่ภาคเหนือ)(สิงหาคม-ตุลาคม เกิดในภาคใต้ หมอกควันจากเกาะสุมาตรา)
ทางออกในการแก้ไขหมอกควันแบบยั่งยืน
1.ทำความร่วมมือเพื่อลดการเผาทุกรูปแบบบนโลกนี้
2.เปลี่ยนพฤติกรรมของมนุษย์ในการไม่เผา ไม่ปล่อยของเสียออกจากหน่วยงานหรือองค์กรระดับต่างๆ
3.สนับสนุนการเกษตรแบบพอเพียง ผสมผสาน ลดการเผา แปลงใบไม้ กิ่งไม้ เป็นปุ๋ยหมัก หรืออย่างอื่นๆ ที่ไม่ส่งผลกระทบต่อภาพรวม เพราะหมอกควันอยู่นอกเหนือของการควบคุม และป้องกันแบบวัวหายล้อมคอก ทำฝนเทียมช่วยได้ชั่วคราวและสิ้นเปลืองงบประมาณ
4.เปลี่ยนพฤติกรรมคนไทยก่อน ให้เป็นตัวอย่างแก่ประเทศอื่นในอาเซี่ยน ไม่เผา ไม่ทิ้งผิดที่ คิดถึงผลกระทบวงกว้าง หมอกควันมาไม่ต้องขอวีซ่าเข้าเขตแดน
ทางออกในการแก้ไขหมอกควันระดับตน/ครัวเรือน
1.หน้ากากปิดจมูกและปาก ที่ป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า PM10 ได้
2.พ่นน้ำฝอย บริเวณบ้าน
3.ผ้าขนหนูชุบน้ำปิดไว้ที่หน้าต่าง ประตูห้องนอน
4.ไม่เผาเพื่อพลอยหรือซ้ำเติมเหตุการณ์
5.ใจเขาใจเรา เราได้รับผลกระทบแค่นี้ที่เกินค่ามาตรฐาน แล้วคนในอินโดนีเซียเอง มาเลเซีย สิงคโปร์ อยู่กันอย่างไร?
6.สร้างจิตสำนึกสาธารณะให้เกิดเรื่องหมอกควัน ขยะทั้งหลาย จิตสำนึกรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ คิดวิเคราะห์และแก้ปัญหาได้
อื่นๆ ลองพิจารณาครับ
ด้วยมิตรภาพ
พีบีวอทช์.เน็ต