แถบข่าววันนี้ (ติดตามสถานการณ์จาก Facebook: Somporn Chuai-Aree)
|
ประกาศศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก
ฉบับที่ 11 (91/ 2554)
เรื่อง ฝนตกหนักและคลื่นลมแรงในอ่าวไทย
มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้มีกำลังแรง ทำให้บริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออก
ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงมามีฝนเกือบทั่วไป และมีฝนหนักหลายพื้นที่ ขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยของ
จังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ระมัดระวังอันตรายที่อาจเกิดจากฝนตกหนัก
น้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากต่อไปอีก
สำหรับคลื่นลมในอ่าวไทยยังคงมีกำลังแรง ทะเลมีคลื่นสูง 2-4 เมตร ขอให้ประชาชนที่อาศัยตามแนวชายฝั่ง
ทะเลภาคใต้ฝั่งตะวันออกระมัดระวังอันตรายจากคลื่นที่ซัดเข้าหาฝั่ง ชาวเรือและชาวประมงเดินเรือด้วยความระมัดระวัง
เรือเล็กควรงดออกจากฝั่งในวันที่ 12- 13 ธันวาคม 2554
ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก
ออกประกาศวันจันทร์ ที่ 12 ธันวาคม 2554
เวลา 06.30 น.
วิเคราะห์สถานการณ์สภาพอากาศภาคใต้
วิเคราะห์จากข้อมูล (http://www.pbwatch.net/WeatherReport.html)
ประจำวันอังคาร ที่ 12 ธันวาคม 2554 เวลา 12.00 น. - 15 ธันวาคม 2554 เวลา 12.00 น.
วิเคราะห์อากาศ
เนื่องจากความกดอากาศสูงจากประเทศพัดลงมาปกคลุมประเทศไทยและทะเลจีนใต้ ทำให้มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรงขึ้น ในช่วงวันที่ 9-11 ธ.ค. 2554 ภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีฝนตกหนักเป็นบางแห่งโดยเฉพาะพื้นที่ซีกขวามือเทือกเขาไปยังพื้นที่ชายฝั่งทะเล พบว่า วันที่ 9 ธ.ค. เป็นวันฝนตกของพื้นที่ภาคใต้ตอนบนลงมาถึงพัทลุง สงขลา วันที่ 10 ธ.ค. ฝนตกกระจายทั่วไปในภาคใต้ วันที่ 11 ธ.ค. ฝนตกเน้นในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง และวันนี้ 12 ธ.ค. ฝนจะตกหนักเน้นในพื้นที่ จังหวัดพัทลุง และสงขลา โดยเฉพาะพื้นที่ชายฝั่งทะเลและรอบทะเลสาบสงขลา
วันที่ 13-14 ธันวาคม 2554 พื้นที่ภาคใต้จะมีฝนลดลง หย่อมความกดอากาศสูงที่ปกคลุมประเทศไทยและทะเลจีนใต้จะถอยกลับและจะพัดลงมาปกคลุมในระลอกใหม่ต่อไป ในวันที่ 15 ธันวาคม 2554 ซึ่งจะทำให้ฝนตกหนักอีกรอบในช่วงวันที่ 15-18 ธันวาคม ขอให้ท่านติดตามข้อมูลจากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างต่อเนื่อง
วิเคราะห์ทะเล
เนื่องจากความกดอากาศสูงจากประเทศพัดลงมาปกคลุมประเทศไทยและทะเลจีนใต้ ทำให้มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรงขึ้น จะทำให้คลื่นฝั่งอ่าวไทยสูงกว่าฝั่งอันดามัน จากข้อมูลจากโมเดลแวม (WAM Model ดูได้จาก http://www.pbwatch.net/WeatherReport.html เลือกดูความสูงคลื่นในอันดามันและอ่าวไทย) อ่าวไทยมีความสูงคลื่นประมาณ 2-4 เมตร และทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1-2 เมตร
เมื่อวันที่ 10-11 ธันวาคม 2554 คลื่นลมทะเลมีความสูง 2-4 เมตร ลดพัดแรง ทำให้เกิดการกัดเซาะบริเวณชายฝั่งเพิ่มมากขึ้น ชาวเรือประมงขนาดเล็กควรงดออกจากฝั่ง และความสูงคลื่นจะลดลงในวันที่ 12 ธันวาคม แต่ฝนยังคงตกอยู่ในพื้นที่ จ.สงขลาและพัทลุง โดยเฉพาะพื้นที่รอบทะเลสาบสงขลา ในวันที่ 12 ธ.ค. และเข้าสู่ภาวะปกติในวันที่ 13-14 ธ.ค. และจะมีฝนตกและคลื่นลมแรงพัดมาอีกครั้งในช่วงวันที่ 15-18 ธันวาคม
ข้อความถึงประชาชนภาคใต้
วันที่ 12 ธันวาคม 2554 จะมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ภาคใต้ โดยเฉพาะ พัทลุง และสงขลา โดยเฉพาะพื้นที่ชายฝั่งทะเลและรอบทะเลสาบสงขลา ทะเลฝั่งอ่าวไทยยังมีคลื่นสูง 2-4 เมตร ฝั่งอันดามันคลื่นสูง 1-2 เมตร
-ชาวประมงเรือขนาดเล็ก ควรงดออกจากฝั่ง บริเวณปากร่องน้ำถ้ามีคลื่นลมแรงอาจจะทำให้เรือขนาดเล็กล่มได้ พื้นที่ชายฝั่งให้ระวังผลกระทบจากคลื่นซัดฝั่งโดยเฉพาะจังหวัด นราธิวาส ปัตตานี สงขลา นครศรีธรรมราช
-ชาวสวนเกษตรกร ชาวสวนยางที่กรีดยางมีความเสี่ยงที่น้ำฝนจะราดน้ำยางได้ทำให้เสียรายได้ ขอให้ใช้ประสบการณ์ในการตัดสินใจ
- วันที่ 12 ธันวาคม 2554 ชาวสวนยางเป็นส่วนใหญ่สามารถจะเริ่มกรีดยางได้ตามปกติ แต่ในพื้นที่พัทลุงและสงขลาอาจจะได้รับฝนตกตลอดทั้งวัน
- วันที่ 13-14 ธันวาคม สามารถจะกรีดยางได้ตามปกติ ฝนจะลดลง
- วันที่ 15 ธันวาคม 2554 จะมีฝนตกอีกระลอกใหม่ ต่อเนื่อง ถึงวันที่ 17 ธันวาคม และให้ติดตามดูข้อมูลจากกรมอุตุนิยมวิทยาทุกๆ วันเพื่อความรอบคอบในการดำเนินชีวิต
- ช่วงมรสุมในครั้งนี้ มีคลื่นลมทะเลแรง ส่งผลให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่งรุนแรงตั้งแต่พื้นที่ จ.นราธิวาส ปัตตานี สงขลา และนครศรีธรรมราช ชาวบ้านพื้นที่ชายฝั่งทะเลให้ระวังสิ่งก่อสร้างบริเวณชายฝั่งเกิดความเสียหาย และระวังต้นไม้โค่นล้มทับขวางทางการจราจรถนนเลียบชายฝั่งได้
- พี่น้องภาคใต้หมั่นดูแลสุขภาพของตัวเองด้วย ด้วยสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงทำให้ป่วยไข้ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตภายในครอบครัวและองค์กรได้ หมั่นติดตามข่าวสารจากช่องทางต่างๆ อย่างมีสติ
หมายเหตุ
อ้างอิง
1. ศูนย์อุตุนิยมวิทยาทะเล กรมอุตุนิยมวิทยา ( http://www.marine.tmd.go.th/thai )
2. ข้อมูลจากภาพเรดาร์ตรวจอากาศ (http://www.disasterradar.tmd.go.th/stp240pLoop06.html)
3. ข้อมูลจากเว็บไซต์จาก PBWatch.NET (http://www.pbwatch.net/WeatherReport.html)
4. ข้อมูลความรู้อุตุนิยมวิทยา (http://www.tmd.go.th/info/info.php?FileID=29)
5. ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคตะวันออก (http://www.songkhla.tmd.go.th/index1.html)