แถบข่าววันนี้ (ติดตามสถานการณ์จาก Facebook: Somporn Chuai-Aree)
|
เรียน พี่น้องเครือข่ายเฝ้าระวังภัยภาคใต้ทุกท่าน
เนื่องจากเราได้รับอิทธิพลจากหย่อมความกดอากาศต่ำและมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือมาอวยพรส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ ฟ้าบริจาคน้ำให้กับพี่น้องภาคใต้กันทั่วถึงกัน ชายฝั่งทะเลได้รับทั้งลมแรงและฝนตกหนักเมื่อคืน (31 ธ.ค. 2554) และวันนี้ (1 ม.ค. 2555) เจอฝนตกหนักต่อเนื่องนะครับ ในขณะนี้เมฆฝนก็ยังปกคลุมภาคใต้ตั้งแต่นครศรีธรรมราช ลงมาถึงนราธิวาส เราจะยังได้รับฝนตกหนักจนถึงวันที่ 2 ม.ค. ครับ หรืออาจจะเลยไปถึงวันที่ 3 ม.ค. สำหรับพื้นที่สุราษฎร์ธานี ชุมพร
สถานการณ์ปัจจุบัน จากเครือข่าย หลายๆ พื้นที่น้ำก็เริ่มท่วมแล้ว และสำหรับพื้นที่ลุ่มในหลายพื้นที่ก็ท่วมกันแล้ว ดังนั้นให้ระวังเรื่องไฟฟ้าช็อตเป็นสำคัญ สิ่งของทั้งหลายในพื้นที่เสี่ยงภัยจากพื้นที่กลางน้ำที่รับน้ำจากพื้นที่อื่นๆ ให้เฝ้าระวังและติดต่อเครือข่ายกันด้วยนะครับ เพราะยังไงน้ำก็จะไหลมาหาท่านกันแน่นอนครับ เช่นตอนนี้
1. พื้นที่สะบ้าย้อย นาทวี จ.สงขลา ก็เริ่มท่วมแล้ว ซึ่งน้ำจะไหลลงมาที่ อ.จะนะ ซึ่งจะนะเองก็ได้รับน้ำจากฟ้าแล้วส่วนหนึ่งเหมือนๆ กับที่อื่น ก็ต้องรับน้ำจากนาทีกันต่อครับ ดังนั้นให้เครือข่ายประสานงานกันด้วยครับ
2. พื้นที่แถวๆ อ.กงหรา หรือแนวเทือกเขาบรรทัด ก็ได้รับฝนตั้งแต่เมื่อวานมาอย่างต่อเนื่อง เกือบทั่วพื้นที่จังหวัดพัทลุง ดังนั้นน้ำจะไหลลงทะเลสาบสงขลา จะทำให้พื้นที่ชายฝั่งทะเลสาบสงขลาได้รับผลกระทบกันอีก ทำให้น้ำท่วมได้เช่นกันครับ
3. พื้นที่ยะลา บริเวณเนินเขาได้รับน้ำเยอะเมื่อคืน 31 ธ.ค. ดังนั้นน้ำจะค่อยๆ ไหลมาผสมกันจากหลายๆ เส้นทาง น้ำจะไหลมาใกล้ๆ เมืองยะลาแล้วไหลต่อมายังพื้นที่เขื่อนปัตตานี แล้ไหลลงพื้นที่ท่วมขังยาวนานในพื้นที่ ต.ปะกาฮะรัง ตะลุโบะ บาราโงะ ต่อไป จึงขอให้รายงานน้ำถึงกัน และหลายพื้นที่ก็น้ำได้เริ่มท่วมกันแล้ว
4. พื้นที่ลุ่มน้ำสายบุรี ตั้งแต่ อ.สุคิริน พื้นที่เสี่ยงดินโคลนถล่ม เป็นแหล่งต้นน้ำ ซึ่งน้ำจะไหลสะสมลงมาในแม่น้ำสายบุรี อาจจะทำให้น้ำท่วมหนักได้ในบางพื้นที่
5. พื้นที่นครศรีธรรมราช กระบี่ พื้นที่เสี่ยงที่ได้รับผลกระทบจากดินโคลนถล่มเมื่อ เมษายน 2553 ให้เฝ้าระวังเป็นพิเศษ เช่น พื้นที่เขาพนม พื้นที่เทพราช กรุงชิง นบพิตำ กะทูน เขาพระ และอื่นๆ ในข่ายพื้นที่เสี่ยงครับ คืนนี้ (1 ม.ค. 2555) ให้พื้นที่ สุราษฎร์ฯ นครศรีฯ กระบี่ เฝ้าระวังเป็นพิเศษ ครับ พื้นที่ดินโคลนถล่มและน้ำป่าไหลหลากครับ
6. พื้นที่หน้าด่าน ตั้งแต่ ปากพนัง หัวไทร สทิงพระ กระแสสินธ์ อ.เมืองสงขลา ลงมาเรื่อยๆ จนถึงปัตตานี สายบุรี นราธิวาส พื้นที่ชายหาดทั้งหลายจะเป็นพื้นที่หน้าด่านในการรับฝนจากภารกิจฝนตกหนักครั้งนี้ครับ ดังนั้นจะได้รับฝนก่อนพื้นที่อื่นๆ แล้วปริมาณความเข้มฝนจะค่อยๆ ลดลงเมื่อตกไปเรื่อยๆ จากทิศตะวันออกเคลื่อนที่ไปทางทิศตะวันตก ในขณะเดียวกันเมื่อฝนไปตกตามแนวเทือกเขา น้ำก็จะไหลมาหาพื้นที่หน้าด่านอีกเช่นกัน ดังนั้นจะได้รับน้ำมากเป็นพิเศษครับ หากการระบายน้ำได้สมดุล ก็จะไม่ได้รับผลกระทบมากนัก เพราะเป้าหมายของน้ำคือ เริ่มจากทะเล แล้วก็จะไหลกลับทะเล (เรายังอยากเที่ยวปีใหม่กันเลย ฝนก็อยากจะเที่ยวปีใหม่เช่นกันครับ ดังนั้นก็ช่วยกันอำนวยความสะดวกให้กับน้ำท่องเที่ยวข้ามปีด้วยนะครับ)
7. ทุกพื้นที่ให้ระวังเรื่องไฟฟ้านะครับ เพราะภัยที่มากับน้ำที่น่ากลัวที่สุดก็คือไฟฟ้าเพราะเรามองไม่เห็นตัวนะครับ ดังนั้นปลอดภัยไว้ก่อนครับ การเดินทางสัญจรก็ให้ตรวจสอบเส้นทางให้ดีนะครับ
ดูข้อมูลน้ำในเขื่อนครับ http://www.thaiwater.net/DATA/REPORT/php/rid_bigcm.php
ดูลักษณะภาพเคลื่อนไหวของพื้นที่ฝนที่ตกจริงได้จาก http://www.songkhla.tmd.go.th/RadarSat/radar/stp_loop.html
พื้นที่
ความคิดเห็น
สถานการณ์น้ำ แนวโน้มฝนตก ภาคใต้ 1 ม.ค. 2554 เวลา 12.00-14.00 น.
สถานะการณ์น้ำ 14:00 น. (1 ม.ค. 2555) ช่วงเที่ยงออกไปดูสถานการณ์น้ำมาครับ เบื้องต้นทัวร์ใน มอ.ปัตตานี ก่อนครับ น้ำปริ่มๆ คลองสองร้อยครับ เห็นลูกพญานาคสามตัวกำลังทำงานกันอย่างขยันขันแข็งครับ จากนั้นวกเข้ามาบริเวณ ถนนจะไปโรงเรียนสาธิต ระดับน้ำครึ่งแข้งครับไม่ได้ไปต่อครับ คาดว่าบริเวณบ้านพักที่ถนนสาธิตประชิดคลองทางทิศใต้น่าจะท่วมและรุกเข้าบ้านเรือนบ้านพักอาจารย์บริเวณนั้น จากนั้นออกต่อไปสำรวจในเมือง ในเมืองปริมาณน้ำปกติ น้ำในแม่น้ำปัตตานีก็ยังรับได้อยู่ แล้วออกไปสำรวจต่อบริเวณสะพานตะลุโบะ ปริมาณน้ำเกือบๆ ปริ่มๆ ตลิ่ง แต่ยังไม่ล้นตลิ่ง ถนนยังสัญจรไปมาได้ปกติ คาดว่าน้ำจากยะลาจะค่อยๆ ไหลมายังพื้นที่ปะกาฮะรังเพื่อสมทบกันต่อไป หากระบายได้ทันก็จะดีมาก หากระบายไม่ทันก็ท่วมกันต่อไป ดูเหมือนว่าจะท่วมกันในมหาลัยก่อนบริเวณรอบนอกยังปกติสำหรับน้ำตกหนึ่งวัน
ตอนนี้จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส ฟ้าเริ่มจะเปิด เริ่มมีแสงสว่างมากขึ้นครับ แต่พื้นที่สงขลาขึ้นไปถึงชุมพรท้องฟ้ายังปิดและปกคลุมไปด้วยเมฆฝน และฝนจะค่อยๆ เคลื่อนที่ไปตกมากขึ้นในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน
พื้นที่ฝนหนักส่วนใหญ่ขณะนี้จะอยู่ในพื้นที่จังหวัด นครศรีธรรมราช ตรัง และพัทลุง และคาบสมุทรสทิงพระครับ
อนึ่ง แม้ว่าฝนจะกำลังเคลื่อนที่ขึ้นไปในพื้นที่ภาคใต้ตอนบนก็ตาม แต่พื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง สำหรับพื้นที่ปลายน้ำก็ควรเฝ้าระวังน้ำเช่นกัน
พื้นที่อำเภอหาดใหญ่ควรจะเฝ้าระวังน้ำไหลจาก อ.สะเดาด้วยครับ ดูพื้นที่น้ำล้นคลองจากจุดสถานีสีแดงครับ http://www.rid-tsl3.com/pmap/tele.php
พื้นที่ อ.จะนะให้เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์น้ำจาก อ.นาทวี ด้วยครับ สำหรับข้อมูลอื่นๆ จะนำมาเสนอต่อไปครับ
ติดตามสถานการณ์ฝนในสามมิติ และเครือข่ายเฝ้าระวังและพื้นที่เสี่ยงดินโคลนถล่มได้จาก http://www.pbwatch.net/WeatherReport.html